Powered By Blogger

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า


1. ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle) คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย
การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าไม่แพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว
นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้
2. งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L) เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน
3. แตงกวา (Cucumis sativas Linn.) จะมีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบัน มีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช้วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล
4. มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.) ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสด นำมาพอกหน้า จะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึง หรืออาจจะฝานบางๆ แปะลงบนผิวหน้าก็ได้
5. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.)ในขมิ้น จะมีสาร Curcumin และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ได้อีกด้วย
6. น้ำผึ้ง (Apis dorsata) ได้จากผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ขี้ผึ้ง อัลบูมินอยด์ ละอองเกสรดอกไม้ และฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวนเล็กน้อย น้ำผึ้งใช้เป็นส่วนประกอบ ของเครื่องสำอาง ใช้พอกหน้า ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื่น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยสมานผิว น้ำผึ้ง เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์สูง และหาง่าย นอกจากนี้ ยังใช้น้ำผึ้งบำรุงผม ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม
7. มะขามเปียก (Tamarindus indica Linn) มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนัง เพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่น และนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้
สูตรสมุนไพรบำรุงผิวหน้า


ลักษณะของพืชสมุนไพร

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร
1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่นกระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น 1.2 รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็นรากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น1. ประเภทไม้ยืนต้น2. ประเภทไม้พุ่ม3. ประเภทหญ้า4. ประเภทไม้เลื้อย
3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ1. ตัวใบ 2. ก้านใบ 3. หูใบ ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน 2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น
4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ1. ก้านดอก2. กลีบรอง3. กลีบดอก4. เกสรตัวผู้5. เกสรตัวเมีย 5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ1. ผลเนื้อ2. ผลแห้งชนิดแตก3. ผลแห้งชนิดไม่แตก

ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการจุกเสียด แน่นท้อง
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดจากการที่อาหารไม่ย่อยหรือย่อยไม่สมบูรณ์ การที่รับประทานอาหารย่อยยาก มีไขมันสูง อาหารสุกๆดิบๆ รสจัด หรือรับประทานเร็วเกินไปเคี้ยวไม่ละเอียด มีความเครียด ความกังวลอารมณ์เศร้าหมอง ทำให้อาหารย่อยไม่ดี จะเกิดลมในกระเพาะอาหารมากและดันขึ้นมาที่บริเวณยอดอก จึงเกิดอาการอึดอัดในท้อง จุกเสียด แน่น คลื่นไส้ เรอเหม็นเปรี้ยว อาเจียน ถ้าเป็นมากจะปวดท้องเกร็ง อาจท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วยก็ได้ เพื่ออาหาร ปวดศีรษะและเป็นแผลร้อนในในปากด้วย
วิธีแก้ไข ควรรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก๊าซ เช่น น้ำอัดลม ถั่ว มะม่วง เป็นต้น และใช้สมุนไพรขับลมที่จะกล่าวถึงร่วมกับสมุนไพรช่วยย่อย เช่นเนื้อสับปะรดสด หัวกระเทียมสดหรือเหง้าขมิ้นชัน
กระชาย ใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สด 5-10 กรัม แห้ง 3-5 กรัม) ต้มพอเดือดเอาดื่ม หรือปรุงอาหารรับประทานได้
กระเทียม ใช้กระเทียม 5-7 กลีบ ซอยละเอียดรับประทานหลังอาหารทุกมื้อ
กระเพรา เด็กอ่อนใช้ใบสด 3-4 ใบ ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2 วันจะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา สำหรับผู้ใหญ่ใช้ยอดสด 1 กำมือต้มพอเดือด ใช้ใบกระเพราแห้ง 1 กำมือ ( 4กรัม ) ใบสดใช้ 25 กรัม ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม หรือป่นเป็นผงครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ชงกับน้ำหรือใช้ใบสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน
กระวานไทย ใช้ผลที่แก่จัด 6-10 ผล ชงกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว
กานพลู ใช้ดอกตูมแห้ง 5-8 ดอก บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ดอกตูมแห้ง 1-3 ดอกใส่ในกระติกน้ำร้อน ที่ใช้ชงนมเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กท้องอืดท้องเฟ้อ
ข่า ใช้เหง้าสดหรือแห้ง ขนาดหัวแม่มือ (สดใช้ 5 กรัม แห้ง 2 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือตำให้แหลก เติมน้ำหรือน้ำปูนใส ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
ขิง ใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม
ขมิ้นชัน ล้างขมิ้นให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสีย ให้หยุดยาทันที
ดีปลี ใช้ผลแห้ง 3-4 ผล ชงน้ำดื่ม
ตะไคร้ ใช้ลำต้นและโคนใบแก่สด ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ชงเอาน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือใช้ประกอบอาหาร
มะละกอ รับประทานเป็นผลไม้
สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้

นมสวรรค์


ชื่ออื่น ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ พวงพีเหลือง หังลิง พนมสวรรค์

รูปลักษณะไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ขอบใบหยักเว้า ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว สีส้มแดง ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ดอก-แก้พิษสัตว์กัดต่อย และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ แก้ตกเลือดราก-ขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังต้น-แก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ และแมลงป่องต่อย แก้พิษฝีผักบัว

กระแจะ



รูปลักษณะไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาแก่น-ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง)ลำต้น-ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนในเปลือกต้น-แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส

สมุนไพร

สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง เป็นต้น
สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย
การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูปตำรับยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้ มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น
ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
ยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส
ยาหอมเทพพิจิตร แก้ลม บำรุงหัวใจ
ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย
ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ
ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็กระบายพิษไข้
สำหรับสมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆ รักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่
สมุนไพรแก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ
สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว
สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย
สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่
สมุนไพรแก้เชื้อรา กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ
สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมีย และตัวผู้

ชุมเห็ดไทย ชื่อภาษาอังกฤษ Foetid Cassia.


ส่วนที่ใช้ เมล็ด ทั้งต้น ใบ ผล

สรรพคุณ เมล็ด

- ทำให้ง่วงนอน และหลับได้ดี

- แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ

- รักษาโรคผิวหนังได้
วิธีและปริมาณที่ใช้
1. ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่นด้วย ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ สารเคมี เมล็ด พบ anthraquinone. emodin chrysarobin. chrysophanic acid-9 - anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin

ขี้เหล็ก ชื่อภาษาอังกฤษ Cassia Tree,Thai Copper Pod

ดอก - รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
- รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
- รักษารังแค ขับพยาธิ
ใบ - รักษาอาการนอนไม่หลับ


วิธีและปริมาณที่ใช้ 1. แก้อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่อ อาหาร ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน สารเคมี เปลือก, แก่นและใบมี anthraquinone glycoside เช่น rhein, aloe-emodim, Chrysophanol และ Sennoside ดอกมีสารพวก chromone ชื่อ Barakol และสารขมชื่อ Cassiamin

กัญชา ชื่อภาษาอังกฤษ Indian Hemp.


ส่วนที่ใช้ เมล็ดแห้ง,ดอกสรรพคุณ เป็นยากล่อมประสาท (Tranquilizer) หมายถึง ยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบายวิธีและปริมาณที่ใช้ เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน ดอกกัญชาปรุงเป็นยารับประทาน ทำให้อยากอาหาร
สมุนไพรคลายเครียด
ในสภาวะปัจจุบัน มีความเครียด เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ทำอย่างไรจึงจะคลายเครียดได้ ถ้าพยายามแล้วไม่สำเร็จ ค่อยไปพบแพทย์เพื่อขอรับการบำบัดรักษา ซึ่งมักจะได้ ยานอนหลับ มาใช้ในการบำบัดรักษา ซึ่งผลข้างเคียงมีมาก ต้องกินยาอยู่เรื่อยๆ จนเกิดผลเสียตามมา คือ ติดยา ดื้อยา สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาโรค เพราะสมุนไพรไทยเป็นที่รู้จัก และใช้กันมานานในรูปของอาหาร สมุนไพรเป็นสิ่งมีชีวิตที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา ไม่มีสารพิษเจือปน
กลุ่มสมุนไพรกล่อมประสาท คลายเครียด ทำให้นอนหลับ
1. กัญชา ชื่อพฤกษศาสตร์ Canabis sativus,L.
2. ขี้เหล็ก ชื่อพฤกษศาหสตร์ Cassia siamea Lamk.
3. ชุมเห็ดไทย ชื่อพฤกษศาสตร์ Cassia tora Linn.
4. พวงชมภูดอกขาว ชื่อพฤกษศาสตร์ Antigonon leptopus Hook,et Arn.






ตำรากำลังดี จากถุงห่อกล้วยแขก

1.อะไรแรงให้ดัน อะไรอ่อนให้ดึง อธิบายว่า

ให้สำรวจสภาพร่างกายแล้วปฏิบัติกับร่างกายเหล่านั้นในทางตรงกันข้าม เช่น ตื่นเช้าขาแข็ง หลังแข็ง ให้ใช้วิธีกดหรือบีบตรงขาตรงหลังที่แข็ง ตกเย็นล้าที่คอ ปวดที่ขมับ ให้จับส่วนของร่างกายที่จับได้แล้วดึง

2.นอนอย่าดึก ตื่นอย่าสาย เวลาที่เหมาะสมในการเข้านอนคือ 21.00 – 22.00 น. และตื่นนอนเวลา 05.00 – 06.00 น. เป็นการปิดระบบร่างกายเพื่อซ่อมบำรุงรักษาในเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง หากปิดระบบในระยะเวลาน้อยร่างกายจะซ่อมบำรุงได้ไม่ทัน ไม่หมด ส่งผลให้ขาดกำลังบำรุง กำลังจึงไม่ดี การใช้เวลาเพียงพอในการปิดซ่อมบำรุงอย่างเพียงพอส่งผลให้กำลังดี

3.ออกกำลังวันละ 30 นาที จะเดิน จะวิ่ง จะปั่นจักรยาน จะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไรที่เป็นการออกกำลังกาย (ไม่ใช่การทำงาน) ช่วงเวลา 30 นาที ต่อวันจะทำให้กำลังวังชาดีมาก เป็นภูมิป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น

4.จิตใจดีงาม เป็นสุข ด้วยการใช้หลักศีลธรรมมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต จะเป็นของศาสนาใดก็ตาม